วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

         ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
ดร.บรรเจอดพร  รัตนพันธุ์คณะทำงานรมช.ศธ.
            จะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่าต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ
            มีใครเคยสงสัยไหมว่าต้นแบบคืออะไรทำไมต้องมีครูต้นแบบเกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ?แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5%ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชูเผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบจะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับต้นแบบ
            เป็นโอกาสดีของผู้เขียนได้ไปร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า กับรองศาสตราจารย์ บุญนำทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 101 ปี ณ อาคาร 3 คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 มีวิทยากรที่ทรงคุณงามความดีความรู้ ภูมิปัญญาชั้นนำของประเทศหลายท่าน และมีท่านหนึ่งได้พูดเรื่องต้นแบบว่าพระมหากษัตริย์ของเรามีต้นแบบที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตย์ในดวงใจของปวงชนชาวไทยนั่นคือ  “สมเด็จย่าแม้ว่าสมเด็จย่าจะจากพวกเราไป แต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลกแล้ววิทยากรที่กล่าวถึงคือพระเทพโสภณ (ประยูรธมมจิตโต)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
            พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
            นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่างศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
            นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงามต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆเพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จักแม้เพียงแค่มองผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมายแค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
            พระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่าการศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็นหากครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
            จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดูได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนเลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุขต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชนแก่ประเทศชาติจากที่ไหน
            จริงอยู่ดังที่ขงจื้อกล่าวไว้ คนดีคนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบแต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลว ได้ชัดเจนต้องมีวุฒิภาวะเพียงใดเยาวชนของเราบางคนยังมีวุฒิภาวะไม่ถึงพร้อม โดยเฉพาะถ้าเห็นตัวแบบนั้นเป็นครูเป็นพ่อ แม่ เขายิ่งอาจสับสนว่าเขาควรเลียนแบบอย่างที่เห็น ใช่หรือไม่
            พวกเราชาวครูทั้งหลาย คงทราบแล้วว่าครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมาทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครู และสังคมเพียงใด
            ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบอีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการแต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบพวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะ ไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหนท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอ ทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัวท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก
            สำหรับบางท่าน.......แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบแม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว......ท่าน ไม่ได้รับเลือก  แต่ท่านอาจเป็นแรงบันดาลใจ
             เป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และ
            ท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่านว่า คุณครู
           เงยหน้าดูพวกเขาสิ  !!! 

สรุปว่า
ต้นแบบว่ามี 2 นัย
            นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่างศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
            นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงามต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆเพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จักแม้เพียงแค่มองผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย
การนำไปใช้
การที่ใด้เห็นต้นแบบที่ดีนั้นทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและอย่ากทำตัวให้ดีเหมือนต้นแบบนั้นทำให้รู้สึกมีแรงบันดานใจที่จะทำตัวเองให้ดีขึ้นและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

กิจกรรมที่ 4

        ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา


        การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ
   ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ  หากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มาก
   แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้คือปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้" การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น "ผู้ให้" นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ  ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ" ซึ่งส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาได้รับนี้ก็คือศรัทธาอันเป็นผลเนื่องมาจากความสามารถที่จะ "ซื้อใจ" ผู้ตามได้นั่นเอง

กิจกรรมที่ 3

Wuthipong Preibjariyawat Book.jpg



       ดร.วุฒิพงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ที่กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน โดยเป็นลูกคนที่ 12 ในบรรดาลูกทั้งหมด 14 คน จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดสังเวช[1] และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการสอบได้เป็นที่หนึ่งของประเทศไทยในแผนกวิทยาศาสตร์ด้วย ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2513 และทุนร็อคกี้เฟลเลอร์ พ.ศ. 2520 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก โดยในระหว่างเรียนมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Woody"
ทางด้านวิชาการ เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษารัฐวิสาหกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้านหน้าที่การงาน ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้อำนวยการของสถาบันสหสวรรษ ในอดีตเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2551) กรรมการของ บมจ. ผาแดงอินดัสทรี (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543) และ บมจ. ทีโอที (พ.ศ. 2550) อีกทั้งเคยร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการผู้จัดการคนแรกของ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2541 ก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายแผนงาน ธนาคารกรุงเทพ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานหระว่างประเทศ ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนหลายแห่ง
ชีวิตส่วนตัว ปัจจุบันยังมีสถานภาพเป็นโสด


การเมือง
ดร.วุฒิพงษ์ ทำการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนอย่างหลากหลาย นับตั้งแต่การขึ้นปราศัย บรรยาย ให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชน จัดเสาวนาประชาชน จัดทำใบปลิว พิมพ์หนังสือ และผลิตซีดี ออกเผยแพร่อยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการออกหนังสือชื่อ "คู่มือทรราช" ในปี พ.ศ. 2543 ที่พูดถึงนักการเมืองทรราช คอร์รัปชั่น ซึ่งต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้ถูกอ้างอิงถึงในช่วงวิกฤตการการเมืองไทยในปี พ.ศ. 2548 ด้วย[2]
ดร.วุฒิพงษ์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ซึ่งในระหว่างนี้ยังเป็นพิธีกรในรายการเสวนาทางการเมืองด้วยตนเอง ที่ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีการถ่ายทอดสดทางช่องนิวส์วัน
นอกจากนี้แล้วยังเคยสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ด้วย โดยได้หมายเลข 12 ได้รับการสนับสนุนจาก นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว และ นพ.ประเวศ วะสี 2 ราษฎรอาวุโส แต่ไม่ได้รับการเลือก
  
      กรณีความขัดแย้งกับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ดร.วุฒิพงษ์ เป็นผู้คัดค้านการอนุมัติงบ 800 ล้านบาทของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้กองทัพ และการอนุมัติงบประมาณเกินความจำเป็นให้ตนเองพวกพ้อง ทำให้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างมากถึงความเหมาะสม ซึ่งนำมาซึ่งความขัดแย้งกับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบอร์ดของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ดร.วุฒิพงษ์ได้กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า "หากบอร์ดทีโอทีไม่ให้ทำงานก็พร้อม และไม่รู้สึกหนักใจอะไร เพราะได้ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อสู้กับอำนาจไม่ได้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรทที่2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
   1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
   2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
หลักการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor  จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)

       ทฤษฎีบริหารจัดการ
ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
ทฤษฎีการบริหารแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  ดังนี้
1. กลุ่มคลาสสิค  (Classical Organizational Thought)
เป็นรูปแบบการบริหารที่มีหลักเกณฑ์(Scientific  Management)
                                Taylor                                   Fayol เน้นหน้าที่ในการบริหาร
                                1. ค้นวิธีทำงานที่ดีที่สุด       1.  การวางแผน (P)
                                2. คัด/พัฒนาคน                     2. การจัดองค์กร(O)
                                3. วิธีทำงาน                            3. การบังคับบัญชา(C)
                                4. ประสานงาน                      4. การประสานงาน(C)
                                                                                   5. การควบคุมงาน(C)   

2. การบริหารกลุ่มมนุษยสัมพันธ์
การทดลอง Hawthorn Plant ของ Mayoมีแนวคิด 5 ข้อที่มุ่งคนเป็นหัวใจของการบริหาร
                                1. กฎเกณฑ์การทำงานของคนในกลุ่ม
                                2. รางวัลคนในกลุ่ม
                                3. ความรับผิดชอบของคนในกลุ่ม ผู้บิหารควบคุมน้อยสุด
                                4. การบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม
                                5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในกลุ่ม

3. ทฤษฎีการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์
แมกเกรเกอร์ (McGregor)แบ่งธรรมชาติคนเป็น 2 แบบคือ

                ทฤษฎี X                                                ทฤษฎี Y
                มองคนในแง่ไม่ดี                                มองคนในแง่ดี    

1.กลุ่มคลาสสิค (Classical Organizational Thought)
ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้คือ เฟรดเดอร์ริค เทเลอร์ (Frederick w. Taylor)  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของทฤษฎีบริหารกลุ่มคลาสสิค  โดยมีความเชื่อว่า เขาสามารถวางหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพได้
ต่อมา ลินคอน เออวิค (Lyndall Urwick)  และ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick)  ได้ทำการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริหารจะประกอบด้วยหลักที่ นิยมเรียกกันว่า POSDCoRB

2.กลุ่มมนุษยสัมพันธ์(Human Relation Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนของกลุ่มทฤษฎีคลาสสิค โดยได้มีการทดลองที่ Hawthorne Plant ซึ่งกำหนดสมมติฐานว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและปริมาณของแสงสว่างกับประสิทธิภาพของงาน  จากผลการทดลอง 3 ครั้ง พบว่า  ผลผลิตของคนงานไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพของแสงสว่างและมีตัวแปรหลายตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างการทดลอง
ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบผลการทดลองที่ Hawthorne Plant  โดยตั้งสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานมีความ สัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ
ผลการทดลองพบว่า         
              พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ไม่ได้เกิดจากมาตรฐานงานที่องค์การกำหนด  พนักงานรวมตัวกันเป็นโครงสร้างสังคมกลุ่มย่อย  อันประกอบด้วย  ปทัสถาน (norms)  ค่านิยม (value) และ จิตใจ (sentiments)  ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน

3.  กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์  (Behavioral Science Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างสอง  ทฤษฎีแรก  ผนวกกับหลักการทางด้านจิตวิทยา    สังคมวิทยา  การเมืองและเศรษฐศาสตร์  เป็นกลุ่ม ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมทางสังคมหรือพฤติกรรมของกลุ่มย่อยที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบ            
ซึ่ง อาจต้องใช้ศาสตร์การบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือ อื่น ๆ ศาสตร์เหล่านี้จัดได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลุ่มย่อย ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานในองค์การ

4.  กลุ่มทฤษฎีระบบ (A System View)
ทฤษฎีการบริหารในปัจจุบันได้พยายามให้ความสำคัญกับระบบ กล่าวคือ มีปัจจัยป้อน (input)กระบวนการ(process) และผลผลิต (output)  ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  กลุ่มทฤษฎีระบบแยกเป็น2 กลุ่ม คือ
4.1 ระบบปิด(ระบบเหตุผล) 
               มี ความเชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมา เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดนี้มีการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามเหตุผลบนฐานของกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ตั้งไว้  เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์กร
4.2  ระบบเปิด
               เชื่อ ว่า องค์การมีศักยภาพที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบคือ ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิตโดยองค์การที่อยู่รอดคือ องค์การที่ปรับตัวได้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม  และเป็นองค์การเปิด เน้นความสนใจระบบทั้งในและ   นอกองค์การ
          อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ