ดร.วุฒิพงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ที่กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน โดยเป็นลูกคนที่ 12 ในบรรดาลูกทั้งหมด 14 คน จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดสังเวช[1] และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการสอบได้เป็นที่หนึ่งของประเทศไทยในแผนกวิทยาศาสตร์ด้วย ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2513 และทุนร็อคกี้เฟลเลอร์ พ.ศ. 2520 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก โดยในระหว่างเรียนมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Woody"ทางด้านวิชาการ เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษารัฐวิสาหกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้านหน้าที่การงาน ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้อำนวยการของสถาบันสหสวรรษ ในอดีตเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2551) กรรมการของ บมจ. ผาแดงอินดัสทรี (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543) และ บมจ. ทีโอที (พ.ศ. 2550) อีกทั้งเคยร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการผู้จัดการคนแรกของ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2541 ก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายแผนงาน ธนาคารกรุงเทพ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานหระว่างประเทศ ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนหลายแห่ง
ชีวิตส่วนตัว ปัจจุบันยังมีสถานภาพเป็นโสด
การเมือง
ดร.วุฒิพงษ์ ทำการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนอย่างหลากหลาย นับตั้งแต่การขึ้นปราศัย บรรยาย ให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชน จัดเสาวนาประชาชน จัดทำใบปลิว พิมพ์หนังสือ และผลิตซีดี ออกเผยแพร่อยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการออกหนังสือชื่อ "คู่มือทรราช" ในปี พ.ศ. 2543 ที่พูดถึงนักการเมืองทรราช คอร์รัปชั่น ซึ่งต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้ถูกอ้างอิงถึงในช่วงวิกฤตการการเมืองไทยในปี พ.ศ. 2548 ด้วย[2]
ดร.วุฒิพงษ์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ซึ่งในระหว่างนี้ยังเป็นพิธีกรในรายการเสวนาทางการเมืองด้วยตนเอง ที่ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีการถ่ายทอดสดทางช่องนิวส์วัน
นอกจากนี้แล้วยังเคยสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ด้วย โดยได้หมายเลข 12 ได้รับการสนับสนุนจาก นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว และ นพ.ประเวศ วะสี 2 ราษฎรอาวุโส แต่ไม่ได้รับการเลือก
กรณีความขัดแย้งกับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร
ในระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ดร.วุฒิพงษ์ เป็นผู้คัดค้านการอนุมัติงบ 800 ล้านบาทของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้กองทัพ และการอนุมัติงบประมาณเกินความจำเป็นให้ตนเองพวกพ้อง ทำให้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างมากถึงความเหมาะสม ซึ่งนำมาซึ่งความขัดแย้งกับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบอร์ดของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ดร.วุฒิพงษ์ได้กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า "หากบอร์ดทีโอทีไม่ให้ทำงานก็พร้อม และไม่รู้สึกหนักใจอะไร เพราะได้ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อสู้กับอำนาจไม่ได้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น